ญี่ปุนกับการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ตอน 2)

09, August 2012
Share   0 
ญี่ปุนกับการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ตอน 2)
ญี่ปุนกับการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ตอน 2)

นอกจากเกาหลีเหนือแล้ว จีนก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งแรงกดดันสำคัญด้านความมั่งคงของญี่ปุ่นไม่ใช่น้อย เพราะหากมีกรณีข้อพิพาทเกิดขึ้น การที่ญี่ปุ่นจะส่งทหารบุกแผ่นดินใหญ่จีนเช่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป เพราะโลกในศตวรรษนี้จีนต่างหากที่จะเป็นฝ่ายถล่มญี่ปุ่น ยิ่งไปกว่านั้น จีนยังเป็นคู่แข่งสำคัญด้านการค้าและทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำมัน และกำลังช่วงชิงอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียไปจากญี่ปุ่น   

 
หรืออย่างในกรณีที่จีนได้ส่งเรือดำน้ำนิวเคลียร์เล็ดลอดเข้าไปในน่านน้ำญี่ปุ่น ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจอย่างยิ่ง ขณะที่จีนก็ไม่พอใจญี่ปุ่นที่ร่วมมือกับสหรัฐอเมริกา ต่อต้านและปิดล้อมจีน โดยเฉพาะการจัดตั้งระบบป้องกันและตอบโต้ด้วยจรวด หรือ TMD จึงเป็นสาเหตุให้จีนไม่มีทางที่จะสนับสนุนให้ญี่ปุ่นเข้าเป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคง 
 
ด้วยความกดดันเช่นนี้เอง ที่ทำให้ญี่ปุ่นต้องเริ่มดำเนินนโยบายที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศ เป็นแบบ “รับเชิงรุก” ในช่วงสมัยรัฐบาลโคอิซูมิเองก็พยายามแหวกอุปสรรคที่จำกัดบทบาทของญี่ปุ่น โดยการบริจาคเงินแก่สหประชาชาติและช่วยเหลือประเทศต่างๆ ในลำดับต้นๆ และผลักดันให้มีการออกกฎหมายยอมให้ญี่ปุ่นส่งกำลังไปช่วยด้านมนุษยธรรมในอิรักได้ แต่ต้องไม่ไปอยู่ในเขตสู้รบ ดังนั้นจึงมี JSDF ไปปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในที่ต่างๆตามคำเรียกร้องของสหประชาชาติ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ถึงศักยภาพของ JSDF และผูกมิตรและหาแนวร่วมที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อกิจการป้องกันประเทศของตน และหาช่องทางเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญของตนไปในตัว 
 
ความช่วยเหลือที่ญี่ปุ่นหยิบยื่นให้แก่สหประชาตินั้นก็เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาติอย่างมาก ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นจะไม่สามารถส่งกำลังติดอาวุธเข้าไปได้ แต่ญี่ปุ่นสามารถช่วยเหลือในเรื่องของการขนส่งเสบียง การฟื้นฟู การก่อสร้าง การบรรเทาสาธารณะภัย และการรักษาพยาบาลต่างๆ เช่น การส่งหน่วยแพทย์และกำลังบำรุงเข้าช่วยเหลือในสงครามที่อัฟกานิสถานและอิรัก หรือการส่งหน่วยช่วยเหลือเข้าไปในซูดาน ความช่วยเหลือเหล่านี้นับมีความจำเป็นมากกว่า ความช่วยเหลือทางการรบ 
 
นอกจากนี้แล้ว ญี่ปุ่นยังมอบเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนมหาศาลไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั้งในรูปแบบของเงินบริจาค ไปจนถึงกองทุนกู้ยืมเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยต่างๆ ซึ่งหากขาดเม็ดเงินจำนวนนี้ไป ก็ยากที่กองกำลังรักษาสันติภาพจะสามารถปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงได้
 
เมื่อญี่ปุ่นต้องการปรับปรุง ฟื้นฟูการทหารของตน ก็เกิดคำถามว่า สหรัฐอเมริกา ไม่กลัวญี่ปุ่นจะคืนสภาพสู่ลัทธิทหารอีกหรือ คำตอบ คือ สหรัฐอเมริกายังเชื่อมั่นในศักยภาพของตนที่เหนือกว่า อีกหนึ่งสาเหตุที่น่าจะสร้างน้ำหนักให้กับความเชื่อนี้ก็คือนโยบายด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปัจจุบันที่เน้นด้านความมั่นคงทางการเงินมากกว่า ซึ่งแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ขัดกับนโยบายการสร้างเสริมกำลังเชิงรุกอย่างชัดเจน ทั้งในอดีตที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาเองก็ต้องสูญเสียเงินไปหลายพันล้านในการให้ความคุ้มครองทางทหารแก่ญี่ปุ่น การให้ญี่ปุ่นขยายบทบาททางการทหารถือว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของสหรัฐอเมริกาภายใต้สภาพวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังอ่อนแอลง และเมื่อเศรษฐกิจของฝั่งสหรัฐเองก็ดูจะเอาแน่เอานอนไม่ได้
 
ด้วยสัญญาที่ผูกมัด ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องแบกภาระ ทั้งยังเกิดแรงต้านจากประชานชนญี่ปุ่นในพื้นที่ตั้งฐานหลายต่อหลายครั้งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การปรับเปลี่ยนนโยบายด้านกำลังพลที่ประจำการอยู่ในญี่ปุ่น และยินยอมให้ญี่ปุ่นนั้นพัฒนาศักยภาพทางทหารของตนให้เพียงพอต่อการพึ่งพาตนเองในการป้องกันประเทศ โดยแลกกับการปฏิบัติภารกิจในการรักษาสันติภาพโลกภายใต้ธงสหประชาชาติ ยอมส่งผลดีที่สุดกับทั้งสองฝ่าย
 
References
  • http://www.wsws.org/articles/2003/dec2003/japa-d16.shtml
  • http://www.apcss.org/Publications/Japan%27s%20Dispatch%20of%20the%20GSDF%20to%20Iraq.Fouse.doc.pdf