ภาพถ่ายความรุนแรง? ความเข้าใจผิด? และสิทธิในการถ่ายภาพเหตุการณ์

05, December 2012
Share   0 
ภาพถ่ายความรุนแรง? ความเข้าใจผิด? และสิทธิในการถ่ายภาพเหตุการณ์ภาพถ่ายความรุนแรง? ความเข้าใจผิด? และสิทธิในการถ่ายภาพเหตุการณ์ภาพถ่ายความรุนแรง? ความเข้าใจผิด? และสิทธิในการถ่ายภาพเหตุการณ์
ภาพถ่ายความรุนแรง? ความเข้าใจผิด? และสิทธิในการถ่ายภาพเหตุการณ์

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2555 ขณะที่เกิดความชุลมุนระหว่างกลุ่มผู้ประท้วงและตำรวจในกรุงเทพ ผู้สื่อข่าวและช่างภาพหนังสือพิมพ์ถูกตำรวจควบคุมตัว ข้อหาในขณะนั้น คือ “ละเมิดสิทธิประชาชน ด้วยการถ่ายภาพความรุนแรง” ซึ่งอ้างอิงจากคำรายงานของโฆษกตำรวจ โดยขณะตำรวจเข้าควบคุมตัว ผู้สื่อข่าวและช่างภาพได้รับบาดเจ็บ ถูกทำร้ายร่างกายและคุมขังแม้จะจะพยายามแสดงตัวว่าเป็นสื่อก็ตาม¦โชคยังดีที่เพื่อนสื่อมวลชนเข้ามาช่วยยืนยันความเป็นสื่อได้ทันเวลา

สันติ  เต๊ะเปีย  ช่างภาพจากผู้จัดการออนไลน์ และ พัฒนศักดิ์ วรรณเดช ช่างภาพจาก ไทยพิบีเอส เป็นช่างภาพถูกจับกุมและถูกทำร้ายร่างกาย แม้ว่าทั้งสองจะพยายามแสดงตัวว่าเป็นสื่อแต่ก็ไร้ผล พวกเขาถูกขังไว้บนรถผู้ต้องหาเป็นชั่วโมงก่อนเพื่อนสื่อจะมาช่วยยืนยันตัวและพาออกไปได้ ต่อกรณีที่เกิดขึ้นสื่อได้รายงานคำพูดของโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโยว่า ได้จับกุมทั้งสองและตั้งข้อหา ละเมิดสิทธิประชาชนด้วยการถ่ายภาพความรุนแรงในขณะนั้น (ซึ่งภายหลังได้ออกมาปฏิเสธว่า ทั้งหมดเป็นเรื่องเข้าใจผิด) และเมื่อสามารถยืนยันตัวว่าเป็นช่างภาพได้ ทั้งสองก็ได้รับการปล่อยตัว

เพื่อตอบสนองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สมาคมนักข่าวหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยและสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ได้ออกแถลงการณ์ร่วม เรียกร้องให้ตำรวจเคารพสิทธิในการรายงานข่าวของสื่อมวลชน โดยทั้งสองสมาคมพิจารณาแล้วว่าตำรวจใช้อำนาจเกินกว่าเหตุและถือเป็นการคุกคามสื่อ ทั้งนี้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติก็ได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวนี้เช่นกัน

ในอังกฤษซึ่งเป็นประเทศชั้นนำของโลกก็มีกรณีคล้ายคลึงกันเกี่ยวกับการลิดรอนสิทธิการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนโดยตำรวจ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ที่ประเทศอังกฤษ ได้ประกาศใช้มาตรา 44 ว่าด้วยเรื่องการก่อการร้ายเพื่อใช้หยุดยั้ง ควบคุมตัวและค้นหาผู้ต้องสงสัยโดยไม่ต้องมีเหตุต้องสงสัย ผลที่เกิดขึ้นก็ คือ ตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยใช้อำนาจเกินขอบเขต ควบคุมตัวหรือตรวจค้นบุคคลโดยไม่มีเหตุอันควร และบ่อยครั้งตัวที่ช่างภาพหรือคนที่ถ่ายรูปตามถนนหนทางต่างๆจะถูกเรียกตัว กักกันก่อนจะปล่อยออกไปโดยไม่ถูกตั้งข้อหาใดๆ แม้แต่ช่างภาพหลายคนรวมทั้งจากสื่อโทรทัศน์ใหญ่อย่าง BBC และ The Guardian ถูกควบคุมและตรวจค้นอย่างไม่มีเหตุผลระหว่างถ่ายทำข่าวหรือรายงานต่างๆ กลุ่มช่างภาพสื่อมวลชนเริ่มอดทนไม่ได้กับพฤติกรรมนี้จึงรวมตัวกันประท้วงมาตรา 44 เพื่อนำเอาสิทธิในการถ่ายภาพในที่สาธารณะกลับคืนมา

การประท้วงนั้นได้ผล รัฐบาลอังกฤษต้องทบทวนการบังคับใช้มาตรานี้ ทั้งนี้ในปี 2010 ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปได้ลงมติเห็นว่า การกระทำของตำรวจอังกฤษที่ตรวจค้น ควบคุมตัวอย่างไร้เหตุอันชัดเจนเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักสิทธิมนุษย์ชนอันไม่สามารถกระทำได้

แม้ว่าจากกรณีศึกษาของอังกฤษจะมีบริบทที่แตกต่างกันบ้าง แต่สิ่งที่คล้ายคลึงกันก็คือ ช่างภาพและสื่อมวลชนกำลังถูกคุกคามจากผู้บังคับใช้กฎหมายเสียเอง การจะเปลี่ยนแปลงพฤติการณ์นี้ได้นั้นต้องอาศัยมากกว่าการกระทำ ขณะที่ประชาชนเรียกร้องความเป็นกลางและความเที่ยงตรงจากสื่อ สื่อมวลชนก็ต้องการสิทธิอันชอบธรรมในการนำเสนอข่าว และการคุ้มครองจากอันตรายด้วย ข้อหาเลื่อนลอยหรือ “ความเข้าใจผิด” เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น และสาธารณชนไม่ควรปล่อยให้เลยผ่านไป เมื่อเหตุการณ์เลวร้ายได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ผลของการกระทำยังคงอยู่และต้องมีผู้รับผิดชอบ

 

เหตุการณ์เช่นนี้ มิควรจะเกิดขึ้นซ้ำอีกแม้แต่เพียงครั้งเดียว

(Last picture is in courtesy of THE NATION, Thailand)

REFERENCE