ภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศ

15, July 2014
Share   0 
ภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศ
ภาพถ่ายแฟชั่นผสมผสานแนวคิดเพศสภาพ บอกตัวตนของช่างภาพไทย กรีรัฐ สุนิศทรามาศ

กรีรัฐ สุนิศทรามาศ เป็นทั้งช่างภาพและศิลปินอิสระที่ทำงานที่นิวยอร์ก มีผลงานภาพถ่ายแฟชั่นลงทั้งสื่อไทยและเทศ จากประสบการณ์ส่วนตัวกรีรัฐริเริ่มทำงานโดยนำเอาประเด็นเพศสภาพมาใช้เป็นหัวข้อหลักของผลงาน เพศสภาพในไทยถือเป็นประเด็นละเอียดอ่อนที่รอให้ผู้คนเข้ามาทำความเข้าใจ เป็นเรื่องราวที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของคำตอบ หากแต่กลับมีผู้ถ่ายทอดอยู่ในวงจำกัด การทำงานในต่างประเทศทำให้กรีรัฐได้เห็นมุมมองและได้ทดลองทำงานบางชิ้นที่อาจแสดงแง่มุมได้แตกต่างจากการทำงานในไทยซึ่งกรีรัฐจะนำมาร่วมพูดคุยถึงที่มาที่ทั้งของตนเองและผลงานที่ถ่ายทอดออกมา

 

ก่อนจะมาทำงานทุกวันนี้ จบการศึกษามาทางด้านใด และทำอะไรอยู่ในปัจจุบัน

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาภาพยนตร์และภาพถ่าย หลับจากเรียนจบก็ทำงานอิสระในวงการแฟชั่น อยู่นิตยสาร IMAGE เป็นผู้ช่วยสไตลิส ทำอยู่ประมาณ 1 ปี ก็ออกมาเป็นช่างภาพให้กับนิตยสาร goplay แล้วจึงตัดสินใจเรียนต่อที่ Savannah College of Art and Design ที่ แอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย เนื่องจากทางโรงเรียนให้ทุน 50% ช่วงที่เราเรียนจบเราก็มีความรู้ทางด้าน Fine Art มากขึ้นแล้ว เราเลยลองสมัครที่ Parson the New School for Design ซึ่งเราได้ทุนอีก 25% ที่บ้านเลยสนับสนุนให้เราเรียนต่ออีกใบ หลังจากจบแล้วก็เลยหันมาทำงานทางด้านแฟชั่นและโฆษณา

 

กว่าจะมาเป็นช่างภาพด้านนี้ ทำอะไรมาบ้าง

มีผลงานได้ไปโชว์ที่ Miami Art Basel ซึ่งเป็น Art Fair ใหญ่มากของไมอามี มีผลงานโชว์ใน Leslie Lohman Museum ซึ่งเป็นแกลอรี่สำหรับงาน Gay and Lesbian art แห่งแรกของโลก ตอนนี้ส่วนมากจะเน้นทำงานทางด้านแฟชั่น มีผลงานลงสื่อนิตยสาร เช่น Tantalum magazine,  Some magazine นอกจากนี้ยังถ่ายแฟชั่นให้กับ นิตยสารไทย เช่น Women Health Thailand ส่งตรงจากนิวยอร์กอีกด้วย

 

ในผลงานปัจจุบัน จะเห็นว่า มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่อง Gender หรือเพศสภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำไมเลือกประเด็นนี้ใส่เข้ามาในงาน 

จุดเริ่มต้นที่เราสนใจประเด็นนี้เพราะ ตัวเราเองก็มี Gender conflict หรือ Identity conflict สมัยช่วงเราเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เราใช้ชีวิตเป็นทั้งผู้หญิงและผู้ชาย พอเรามาอยู่อเมริกา เราเลยสนใจศึกษาทฤษฎีทางด้านเพศเป็นพิเศษ การเรียนทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นและค้นพบว่า Gender หรือเพศนั้น ไม่ได้มีแค่ หญิงกับชาย และลักษณะของเพศสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา งานที่ทำเลยมีเรื่องเพศเข้ามาเกี่ยวโดยที่เราไม่รู้ตัว นอกจากนี้เราอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านที่น่าสนใจ ประเด็นเรื่องเพศมีการเปิดกว้างมากขึ้นรวมไปถึง drag queen (ผู้ชายที่แต่งกายเป็นหญิง) และ transgender (คนข้ามเพศ) ด้วย

 

จริงๆแล้วงานทางด้านแฟชั่นกับประเด็นทางสังคม สามารถไปด้วยกันได้หรือไม่ แล้วจะนำเสนอออกมาได้อย่างไร

สามารถไปด้วยกันได้ แต่ตัวงานและจุดประสงค์ของงานจะมีต้องมีความคิดและจุดมุ่งหมายที่ผ่านกระบวนการคิดมากขึ้น เพราะโดยพื้นฐานของแฟชั่นคือเรื่องความสวยงามและโฆษณา การใช้ประเด็นทางสังคมในงานโฆษนาในยุคทุนนิยม โดยปกติเป็นเรื่องที่ไม่สมควร เว้นแต่จะทำเพื่อตั้งประเด็นอะไรบางอย่าง

 

จากงานตัวอย่าง Fashion Model แบบเป็นผู้ชายแต่นำเสนอออกมาในรูปแบบผู้หญิง ผลงานชิ้นนี้มีแนวคิดและที่มาอย่างไร

ที่มาเกิดจาก Cory Wade Hindroff เขาเจอผลงานเราแล้วชอบ เขาเลยส่งอีเมล์มาหาเราบอกว่าอยากร่วมงานด้วย โดย Cory เป็นผู้เข้าแข่งขันรอบสุดท้าย นายแบบของ TV show America Next Top model cycle 20 produce by Tyra Bank ช่วงที่รายการออกอากาศ Cory กำลังดังซึ่งเป็นช่วงเดียวกับเมื่อปลายปี 2013 ในช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับประเทศรัสเซีย โดยประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินออกกฎหมาย Gay Propaganda ซึ่งเป็นการขัดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในเรื่องการแสดงออกของกลุ่มเกย์ การแสดงออกในลักษณะเกย์ทุกวิธีทางจะถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมายและถูกจับเข้าคุก เรากับ Cory เลยคุยกันว่าจะทำภาพแฟชั่นในลักษณะเพิ่มความภาคภูมิใจในการเป็นเกย์ (Empower gayness) เพื่อให้กำลังใจกลุ่มเกย์ในประเทศรัสเซีย

นอกจากนี้แล้ว ตัวภาพแฟชั่นเซ็ตนี้ ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็น Cory เท่านั้น ตัว Cory ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะเขาเป็นเกย์ที่เปิดเผยมาก แต่เมื่อเขาอยู่ในรายการ TV เขาถูกกรรมการทุกคนบอกว่าเขามีความเป็น Feminine หรือมีลักษณะของความเป็นผู้หญิงสูง  ซึ่งในบริบทของ แฟชั่นจะเกี่ยวกับ Branding และภาพลักษณ์ ดังนั้น Cory เลยต้องซ่อนความเป็นเกย์เอาไว้ มันเหมือนกับการ Hide in closet เพราะหวาดกลัวจากสิ่งรอบข้าง หรืออยู่ในสภาวะที่ไม่เหมาะสม ตัวCory เลยค่อยข้างไปด้วยกันกับ สถานการณ์เกย์ในรัสเซีย

 

ปกติแล้วช่างภาพจะนำเสนองานผ่านแบบที่เป็นบุคคลอื่น แต่มีงานอีกชิ้นหนึ่งที่ใช้ตัวเองเป็นแบบเลย อะไรเป็นแรงบันดาลใจและนำเสนองานออกมาอย่างไร

ผลงานของที่เกี่ยวกับตัวเราเองชื่อว่า Fine Art in Time Square จุดเริ่มต้นคือเราเคยใช้ชีวิตแบบผู้หญิงมาก่อนในสมัยช่วงมหาวิทยาลัย เพศทางสังคม (Social gender / projected gender​) เป็นเพศหญิง แต่เพศร่างกาย (Physical body) เป็นเพศชาย ช่วงนั้นเราเลยสับสนมาก นอกจากตัวเราเองแล้ว สังคมก็ยังสับสนเช่นกันเพราะ เวลาเราเข้าห้องน้ำชาย ผู้ชายบางคนก็งงว่าเราเข้าห้องน้ำผิด มันเลยสับสนมาก งานชิ้นนี้เลยเป็นการทดลอง (social experiment) เกี่ยวกับการมองเพศ เมื่อตัวเราที่มีร่างกายเป็นชาย แสดงออกด้วยการปรับปรุงร่างกายให้ดูเป็นหญิงจากสิ่งของต่างๆ คนที่เราต้องการสื่อสารด้วยจะมองข้ามเพศจากร่างกายเราหรือไม่ จากงานชิ้นนี้ ซาลาเปาคือนมผู้หญิง ผ้าขนหนูคือผมผู้หญิง ของเหล่านี้วางผู้บนตัวเราซึ่งมีร่างกายเป็นผู้ชาย แล้วเราขอให้ Street Artist วาดภาพเราเป็นผู้หญิง Street Artist สามารถเลือกที่จะวาดเราอย่างที่เป็นผู้ชาย หรือเลือกที่จะวาดภาพเราในลักษณะผู้หญิง

 

คิดยังไงต่อ Gender ในไทย เปรียบเทียบกับทางฝั่งตะวันตก

คนไทยหลายคนเริ่มให้ความสนใจใน Gender มากขึ้น แต่โดยส่วนมากยังอยู่ในลักษณะเฉพาะกลุ่ม มีเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ กลุ่มอันจารี และอื่นๆ ก็เรียกว่าเป็นจุดเริ่มที่ดี เมืองไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจมากตรงที่ ในวงสังคมขนาดใหญ่ (Society)  การเปิดรับเรื่องเพศค่อนข้างมีมาก มีอาชญากรรมเกี่ยวกับเพศ เช่น การแบ่งแยก (Discrimination) หรือการเหยียดเพศ (Racist) มีน้อย แต่ในบริบทขนาดเล็กเช่นครอบครัว (Family) การยอมรับหรือการเปิดรับทางด้านเพศหรือความหลากหลายทางเพศยังมีน้อยกว่า จุดนี้เป็นจุดที่ต่างจากฝั่งตะวันตก เพราะวงสังคมขนาดใหญ่ (Society) มี hate crime ค่อนข้างมาก ส่วนบริบทครอบครัวยังน้อยกว่าเพราะพ่อแม่ยุคใหม่ส่วนมากจะรับได้

 

สนใจจะกลับมาทำโปรเจคที่เมืองไทยหรือไม่

แน่นอนว่าเราอยากจะกลับไปทำงานที่ไทย เพราะเราอยากให้ประเทศไทยมีอนาคตที่ดีขึ้น แต่ช่วงนี้เรายังอยากลุยตลาดระดับสากลมากกว่า

 

สามารถติดตามรับชมผลงานของ กรีรัฐ ได้ที่ http://www.kreerath.com/   ทาง Facebook ที่ https://www.facebook.com/kreerathstudio หรือร่วมพูดคุยอย่างใกล้ชิดที่ Twitter @kreerath หรือที่ Instagram : kreerath